เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างมีกี่ชนิด เลือกใช้งานอย่างไร?

เหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างมีกี่ชนิด เลือกใช้งานอย่างไร?

เหล็กก่อสร้างมีกี่ชนิด

เหล็กกล่องกับเหล็กใช้งานหลัก

หลายคนเข้าใจว่าเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างนั้นเหมือน ๆ กันทั้งหมด รูปร่างหน้าตาคล้ายกัน ก็น่าจะใช้งานแทนกันได้ แต่จริง ๆ แล้วเหล็กมีหลายประเภท หลายขนาด ซึ่งคุณสมบัติก็จะแตกต่างกันตามกระบวนการผลิตเหล็ก เพื่อรองรับการใช้งานที่มีความหลากหลายในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

สำหรับผู้ที่ยังมีคำถามว่าเหล็กที่ใช้ในงานก่อสร้างนั้นมีกี่ชนิด ลักษณะการใช้งานแตกต่างกันอย่างไร SB Steel มีคำตอบและรายละเอียดของเหล็กแต่ละประเภทมาฝากกัน เพื่อให้คุณเลือกใช้งานอย่างคุ้มค่าตรงกับวัตถุประสงค์

ประเภทของเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้าง

เหล็กคือโลหะประเภทหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน และอุตสาหกรรมมากมาย โดยเฉพาะเหล็กกล้า (Steel) ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานก่อสร้างอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นเหล็กที่มีความเหนียวหนึบ ยืดหยุ่นสูง นำมาแปรรูปหรือขึ้นรูปร่างได้ตามความต้องการ 

สำหรับเหล็กกล้าที่นำมาแปรรูปและได้รับความนิยมมากในแวดวงอุตสาหกรรมจะมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ เหล็กเส้นคอนกรีต (Reinforcing Steel) และ เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel) ซึ่งเหล็กทั้ง 2 ประเภทนี้ต่างกันอย่างไร เรามีคำตอบมาฝากกัน

1. เหล็กเส้นคอนกรีต (Reinforcing Steel)

ประเภทเหล็กคอนกรีต

เหล็กเส้นคอนกรีต หรือ เหล็กเสริม คือ เหล็กเส้นที่ใช้ในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีทั้งรูปแบบของเหล็กกล้าชนิดท่อน ชนิดเส้น และชนิดตะแกรง โดยคุณสมบัติหลักของเหล็กเส้นคอนกรีตจะช่วยในการเสริมแรงต้านทานและเพิ่มความแข็งแรงให้โครงสร้างยึดเกาะดีขึ้น เหล็กเส้นคอนกรีตแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก้ “เหล็กเส้นกลม” และ “เหล็กข้ออ้อย”

ข้อดีของเหล็กเส้นคอนกรีต

  • เหล็กเส้นคอนกรีตมีความยืดหยุ่นตัวสูง แข็งแรง และทนทาน
  • รับน้ำหนักได้มาก ไม่ยุบตัวในระยะยาว
  • ลดการใช้ไม้และคอนกรีตในการก่อสร้างได้
  • ติดตั้งง่าย ลดเวลาก่อสร้างและลดคนงานให้น้อยลง
  • สามารถใช้งานในพื้นที่ที่มีข้อจำกัดสูงได้
  • รื้อถอนและสร้างใหม่ได้

1.1 เหล็กเส้นกลม (Round Bar หรือ RB)

เหล็กเส้นกลม คือ เหล็กเส้นที่มีหน้าตัดเป็นรูปกลม ผิวเรียบเกลี้ยง ไม่มีรอยสนิมขรุขระ และผลิตจากเหล็กแท่งด้วยกรรมวิธีรีดร้อนโดยไม่ผ่านการแปรรูป 

  • ความทนทาน : แข็งแรงทนทาน ทนต่อความร้อน สภาพแวดล้อม และการกัดกร่อนได้ดี
  • ลักษณะการใช้งาน : ใช้สำหรับงานก่อสร้างทั่วไปที่ไม่ต้องการรับน้ำหนักมาก และไม่เน้นงานยึดเกาะ
  • เหมาะกับการใช้งาน : ปลอกเสา ปลอกคาน โครงสร้างอาคาร งานก่อสร้างกลางแจ้ง และถนน
  • ดูสินค้าเหล็กเส้นกลม

1.2 เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar หรือ DB)

เหล็กข้ออ้อย คือ เหล็กเส้นที่มีหน้าตัดเป็นรูปกลม มีครีบและบั้งที่ผิวเหล็ก ช่วยให้เหล็กยึดเกาะกับคอนกรีตได้ดี ผลิตด้วยกรรมวิธีเดียวกับเหล็กเส้นกลม 

  • ความทนทาน : ทนทาน ยึดเกาะสูง ทนต่อความร้อน การกัดกร่อน และแรงอัดได้ดี
  • ลักษณะการใช้งาน : ใช้ในการก่อสร้างงานโครงสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก รองรับน้ำหนักได้มาก และงานก่อสร้างที่ต้องการความยึดเกาะสูง
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานก่อสร้างที่รับน้ำหนักมาก เช่น ผนังอาคาร เขื่อน สะพาน หรือโครงสร้างตึกสูง
  • ดูสินค้าเหล็กข้ออ้อย

2. เหล็กรูปพรรณ (Structural Steel)

เหล็กรูปพรรณ คือ เหล็กที่ผ่านการขึ้นรูปให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน อาทิ เหล็กแผ่น เหล็กกล่อง เหล็กก้อน และท่อเหล็ก มีความทนทานสูง ใช้งานง่าย จึงนิยมนำไปใช้ในงานโครงสร้างทั่วไป

ข้อดีของเหล็กรูปพรรณ

  • เหล็กรูปพรรณมีรูปทรงและขนาดให้เลือกตามลักษณะงาน
  • รับน้ำหนักได้มาก ทนต่อแรงกดได้ดี
  • ทนทาน ดูแลรักษาง่าย คุ้มค่าในระยะยาว
  • ติดตั้งง่าย ลดเวลาก่อสร้างและลดคนงานให้น้อยลง
  • เหล็กรูปพรรณที่ผ่านการเคลือบสารป้องกันจะทนต่อสภาพอากาศได้ดี 
  • เลือกใช้งานได้หลากหลาย ทั้งงานโครงสร้างและงานตกแต่ง

2.1 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดเย็น (Cold Formed Structural Steel)

ประเภทเหล็กรูปพรรณรีดเย็น

เหล็กรูปพรรณที่ผลิตและขึ้นรูปด้วยการนำแผ่นเหล็กรีดร้อนมาเข้ากระบวนการรีดเย็นต่อ เพื่อลดความหนาของแผ่นเหล็ก โดยเหล็กที่ผ่านการรีดเย็นจะมีความทนทานต่อแรงกดมากขึ้น แต่ความเหนียวของเนื้อเหล็กจะน้อยกว่าเหล็กรูปพรรณรีดร้อน

2.1.1 เหล็กท่อดำ (Carbon Steel Tubes)

เหล็กท่อดำ เป็นเหล็กรูปพรรณที่ขึ้นรูปจากเหล็กกล้าคุณภาพสูง มีลักษณะเป็นท่อยาว หน้าตัดรูปวงกลม ด้านในกลวง มีน้ำหนักเบา แต่ทนต่อแรงดันได้ดี

  • ความทนทาน : แข็งแรง น้ำหนักเบา ทนต่อแรงดันและแรงกดได้ระดับปานกลาง
  • ลักษณะการใช้งาน : ใช้สำหรับงานโครงสร้างที่รับน้ำหนักไม่มาก และระบบชลประทานในการลำเลี้ยงน้ำ
  • เหมาะกับการใช้งาน : ท่อลำเลียง ท่อประปา ท่อน้ำภายในอาคาร โครงเหล็กนั่งร้าน โครงป้าย และงานก่อสร้างเอนกประสงค์
  • ดูสินค้าท่อเหล็กดำ
2.1.2. เหล็กกล่องเหลี่ยม (Carbon Steel Square Pipes)

เหล็กกล่องเหลี่ยม หรือ ท่อเหลี่ยม คือเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเป็นลักษณะท่อสี่เหลี่ยม มีมุมฉากที่เรียบคม ไม่มน ทำมุม 90 องศา ขนาดความยาวเท่ากันทุกเส้น

  • ความทนทาน : แข็งแรง ใช้แทนไม้หรือคอนกรีตได้ แต่มีน้ำหนักเบา รองรับน้ำหนักได้ระดับปานกลาง
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก ต้องการประหยัดเวลาและแรงงาน 
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา เสา คาน บันได และโครงสร้างนั่งร้าน
  • ดูสินค้าเหล็กกล่องเหลี่ยม
2.1.3 เหล็กกล่องแบน (Carbon Steel Rectangular Pipes)

เหล็กกล่องแบน หรือ ท่อแบน คือเหล็กกล่องที่มีลักษณะเป็นท่อสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านในกลวง พื้นผิวเรียบ และมีน้ำหนักเบา

  • ความทนทาน : แข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักและแรงกดทับได้ระดับปานกลาง
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างหลังคา หรือ งานก่อสร้างทั่วไปที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา เสา โครงสร้างนั่งร้าน ประตู หรืองานก่อสร้างอื่น ๆ ภายในอาคาร
  • ดูสินค้าเหล็กกล่องแบน
2.1.4 เหล็กตัวซี (C Light Lip Channel)

เหล็กตัวซี หรือ เหล็กแปเหล็กตัวซี  คือเหล็กรูปพรรณที่ขึ้นรูปคล้ายตัวซี (C) ผลิตจากเหล็กกล้าเนื้อดี ตามมาตรฐานมอก. 1228-2561 น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย

  • ความทนทาน : แข็งแรง รับน้ำหนักได้ปานกลาง และทนต่อการกัดกร่อน
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างทั่วไปในบ้านเรือนและอาคารที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมาก
  • เหมาะกับการใช้งาน : แปหลังคา เสาค้ำยัน และโครงบันได
  • ดูสินค้าเหล็กตัวซี
2.1.5 เหล็กแบน (Flat Bars Steel)

เหล็กแบน คือ เหล็กรีดเย็นที่ขึ้นรูปเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะแบน ยาว หนาเท่ากันทั้งแผ่น โดยมีความยาวมาตรฐานอยู่ที่ 6 เมตร 

  • ความทนทาน : แข็งแรง ทนต่อแรงกด และรับน้ำหนักได้ปานกลาง
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างทั่วไป งานเชื่อม งานกลึง 
  • เหมาะกับการใช้งาน : เหล็กดัด ราวบันได รั้วบ้าน และใช้เป็นชิ้นส่วนเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม
  • ดูสินค้าเหล็กแบน

2.2 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (Hot Formed Structural Steel)

ประเภทเหล็กรูปพรรณรีดร้อน

เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการหลอมจากเตาที่มีอุณหภูมิสูงในจุดหลอมเหลว ผสมกับส่วนผสมทางเคมีให้ได้สัดส่วนตามที่ต้องการ แล้วนำไปเข้าเตาหล่อและรีดร้อนอีกครั้งเพื่อตัดตามรูปทรงที่ต้องการ ทำให้ได้เหล็กที่มีเนื้อเหนียวและทนทาน

2.2.1 เหล็กไวด์แฟรงค์ (Wide-Flange หรือ WF)

เหล็กไวด์แฟรงค์ คือ เหล็กรูปพรรณหน้าตัดรูปตัวเอช (H) มีลักษณะคล้ายกับเหล็กไอบีมและเหล็กเอชบีม แต่ขนาดบางกว่า ไร้รอยเชื่อมระหว่างส่วนต่าง ๆ 

  • ความทนทาน : ทนทานสูง ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบากว่าเหล็กเส้นคอนกรีต
  • ลักษณะการใช้งาน : โครงสร้างทั่วไปของอาคารหรือบ้านเรือนที่ไม่ซับซ้อน
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา เสา คาน โรงงานขนาดใหญ่ และงานเชื่อม
  • ดูสินค้าเหล็กไวด์แฟรงค์ WF
2.2.2 เหล็กเอชบีม (H – BEAM หรือ HB)

เหล็กเอชบีม เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ลักษณะเป็นรูปตัวเอช (H) มีด้านกว้างและด้านยาวเท่ากัน ไร้รอยเชื่อมตามส่วนต่าง ๆ 

  • ความทนทาน : แข็งแรง ทนต่อแรงดึงและแรงต้านทาน รับน้ำหนักได้ดี
  • ลักษณะการใช้งาน : นิยมใช้ในงานโครงสร้างหลักของอาคาร
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา เสา คาน และโรงงานขนาดใหญ่
  • ดูสินค้าเหล็กเอชบีม HB
2.2.3 เหล็กไอบีม (I – BEAM หรือ IB)

เหล็กไอบีม เป็นเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน ที่มีลักษณะเป็นรูปตัวไอ (I) ส่วนปีกจะมีความหนามาก รองรับน้ำหนักได้เยอะ 

  • ความทนทาน : แข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักโครงสร้างและแรงกระแทกได้สูง
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างหลักของอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องรับน้ำหนักมาก
  • เหมาะกับการใช้งาน : เสา คาน รางเลื่อน และส่วนประกอบของเครื่องจักรขนาดใหญ่
  • ดูสินค้าท่อเหล็กไอบีม IB
2.2.4 เหล็กฉาก (Angle-Bar)

เหล็กฉาก คือ เหล็กรูปพรรณที่ผลิตโดยเหล็กกล้าคาร์บอนรีดร้อน มี 2 ขา คล้าย ๆ ตัวแอล (L) ทำมุม 90 องศา และเนื้อเหล็กมีความยืดหยุ่น 

  • ความทนทาน : แข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักและแรงกดทับได้สูง
  • ลักษณะการใช้งาน : เหล็กฉากขนาดใหญ่จะนิยมนำไปใช้สำหรับโครงสร้าง ส่วนเหล็กฉากขนาดเล็กเหมาะกับงานตกแต่งหรืองานเฟอร์นิเจอร์ 
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา เสาอาคาร เสาไฟฟ้า รวมทั้งการประกอบชั้นวางของ เก้าอี้ โต๊ะ เตียง และบันได
  • ดูสินค้าเหล็กฉาก
2.2.5 เหล็กรางน้ำ (C-Channel)

เหล็กรางน้ำ เป็นเหล็กรูปพรรณรีดร้อนที่มีหน้าตัดรูปตัวยู (U) โดยขนาดขาทั้งสองข้างยาวเท่ากัน ทำมุม 90 องศากับฐาน มีความหนาช่วยในการรับน้ำหนักได้ดี 

  • ความทนทาน : แข็งแรงทนทาน รองรับน้ำหนักและแรงกดทับได้สูง 
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนักตามโรงงานอุตสาหกรรมและบ้านเรือน
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา คานบ้าน คานบันได เสาตอม่อ และสะพาน
  • ดูสินค้าเหล็กรางน้ำ
2.2.6 เหล็กรางพับ (Light Channel)

เหล็กรางพับ มีลักษณะคล้ายเหล็กรางน้ำ หน้าตัดรูปตัวยู (U) ปีกทั้งสองด้านจะมีขนาดเท่ากัน แต่บางกว่า น้ำหนักเบา ส่วนมากจะนำไปใช้เสริมโครงสร้างเหล็กชนิดอื่น ๆ 

  • ความทนทาน : ทนทาน น้ำหนักเบา ทนต่อแรงกดและแรงกระแทกได้ระดับปานกลาง
  • ลักษณะการใช้งาน : งานโครงสร้างทั่วไปที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก หรือใช้เป็นเหล็กเสริมค้ำ
  • เหมาะกับการใช้งาน : งานหลังคา โครงบันได โครงผนัง กรอบประตูหรือหน้าต่าง
  • ดูสินค้าเหล็กรางพับ

ข้อดีของเหล็กเส้นคอนกรีต VS เหล็กรูปพรรณ

เมื่อรู้จักลักษณะของเหล็กแต่ละประเภทแล้ว คุณสามารถเปรียบเทียบข้อดีของเหล็กเส้นคอนกรีต และ เหล็กรูปพรรณ เพื่อให้ง่ายต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเหล็กครั้งต่อไป

วิธีการเลือกซื้อเหล็ก

การเลือกซื้อเหล็กเพื่อใช้ในการก่อสร้าง คุณจำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในหลาย ๆ ปัจจัย เพื่อให้ได้เหล็กมีคุณภาพตอบโจทย์การใช้งาน คุ้มค่ากับราคาที่จ่าย และที่สำคัญคือความปลอดภัยของทุก ๆ งานก่อสร้าง  SB Steel จึงทำเช็คลิสต์ง่าย ๆ ให้คุณพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อเหล็ก

  1. เลือกเหล็กถูกประเภท : สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อเหล็กไว้ใช้ในงานก่อสร้าง แต่ยังไม่แน่ใจว่าเหล็กประเภทไหนเหมาะกับงานนั้น ๆ คุณควรศึกษาลักษณะ จุดเด่น และความแตกต่างของเหล็กแต่ละประเภทให้ดีเสียก่อน
  2. เลือกขนาด น้ำหนัก และรูปทรง ตามความต้องการ : อย่างที่ทราบว่าเหล็กมีหลายขนาด หลายรูปทรง ซึ่งนำไปประยุกต์ใช้งานแตกต่างกัน การเลือกซื้อเหล็กให้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพ คุณควรเลือกซื้อเหล็กให้ได้ขนาดและรูปทรงที่ตรงกับลักษณะงาน
  3. เลือกซื้อกับร้านที่มีความเชี่ยวชาญ : หากคุณต้องการซื้อเหล็กที่มีคุณภาพโดยไม่มีปัญหากวนใจภายหลัง เราขอแนะนำให้ซื้อเหล็กจากร้านที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเหล็กก่อสร้าง ลูกค้าจำนวนมากวางใจมาอย่างยาวนาน มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำ และบริการหลังการขายที่ได้มาตรฐาน
  4. เลือกซื้อเหล็กที่ได้มาตรฐาน มอก. : เหล็กที่ดีควรผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต หรือ มาตรฐาน มอก. เพราะเป็นการการันตีว่าคุณสามารถนำเหล็กมาใช้งานได้อย่างปลอดภัย
  5. เปรียบเทียบราคาก่อนทุกครั้ง : ราคาเหล็กแต่ละประเภทจะแปรผันตามขนาด น้ำหนัก และส่วนผสม คุณจึงควรเปรียบเทียบราคาและข้อเสนอจากหลาย ๆ ร้าน เพื่อให้ได้เหล็กคุณภาพดีในราคาสมเหตุสมผล อย่าง SB Steel ที่สามารถจัดจำหน่ายเหล็กในราคาเป็นมิตร เพราะเหล็กของเราส่งตรงจากโรงงานผลิต ช่วยลดต้นทุนการก่อสร้างให้คุณได้

เลือกซื้อเหล็กคุณภาพ บริการครบวงจร ราคาโรงงานที่ SB Steel

เมื่อคุณรู้จักประเภทของเหล็กและคุณสมบัติต่าง ๆ ดีแล้ว ต่อไปคุณจะสามารถเลือกซื้อเหล็กเพื่อใช้ในงานก่อสร้างได้อย่างตรงวัตถุประสงค์และตอบโจทย์ลักษณะงาน ทั้งช่วยเรื่องความแข็งแรง ความปลอดภัย และยังประหยัดงบที่อาจจะเคยจ่ายไปกับการซื้อเหล็กผิดประเภทจนต้องตัดใจซื้อใหม่ 

SB Steel คลังเหล็กที่มีประสบการณ์ยาวนาน จัดจำหน่ายเหล็กทุกชนิดในราคาที่เข้าถึงง่าย เพราะเหล็กทุกชิ้นของเราส่งตรงจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน เราจึงคุมต้นทุนและมาตรฐานของเหล็กให้มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ SB Steel ยังมีบริการหลังการขายครบวงจร ตั้งแต่การรับประกันสินค้า บริการจัดส่งถึงไซต์งาน และทีมช่างที่มีความรู้เรื่องเหล็กก่อสร้างคอยให้คำปรึกษาอย่างมืออาชีพ

ถ้าต้องการเลือกซื้อเหล็กที่มีคุณภาพในราคาโรงงาน พร้อมบริการหลังการขายที่น่าประทับใจ เลือก SB Steel ให้ช่วยดูแลคุณในครั้งต่อไป

บทความที่คล้ายกัน

เหล็ก H-Beam คืออะไร

ทุกเรื่องที่ควรรู้! เหล็ก H-Beam คืออะไร? เหมาะกับการใช้งานแบบใด?

ขนาดเหล็ก H-Beam

ผู้รับเหมาเซฟไว้เลย! ตารางและขนาดเหล็ก H-Beam

ขนาดเหล็กกล่องแบน

ตารางและขนาดเหล็กกล่องแบน เลือกใช้งานอย่างไร?

เหล็กกล่องแบน แป๊บแบน

เหล็กกล่องแบน เหล็กแป๊บแบน คืออะไร? เลือกใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม?

ตารางและขนาดเหล็กท่อดำ

ตารางขนาดท่อเหล็กดำ สำคัญต่อผู้รับเหมาอย่างไร?

เหล็ก H-Beam และ I-Beam แตกต่างกันอย่างไร ?